วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิชาฐานข้อมูลเบื้องต้น

วิชา  ฐานข้อมูลเบื้องต้น
การบ้านบทที่
5 ประจำวันที่  8 ธันวาคม  2553
จงวาดรูป ER Diagram ของระบบการฉายภาพยนตร์พร้อมทั้งระบุความสัมพันธ์ให้ถูกต้องโดยข้อมูลประกอบด้วย
-แฟ้มภาพยนตร์ ข้อมูลที่เก็บ รหัสภาพยนตร์ชื่อภาพยนตร์วันเปิดตัวผู้กำกับ
-แฟ้มผู้แสดง ข้อมูลที่เก็บ รหัสนักแสดงชื่อนักแสดงประวัติการแสดง
-แฟ้มโรงภาพยนตร์ ข้อมูลที่เก็บ รหัสโรงภาพยนตร์ชื่อโรงภาพยนตร์,ที่อยู่,เบอร์โทรศัพท์
จงวาดรูป ER Diagram ของระบบร้านเช่าวีดีโอแห่งหนึ่งประกอบด้วย-แฟ้มสมาชิก (member) ข้อมูลที่เก็บ รหัสลูกค้าชื่อที่อยู่เบอร์โทร
-แฟ้มชื่อเรื่อง (title) ข้อมูลที่เก็บ รหัสเรื่องชื่อเรื่องผู้กำกับนักแสดง
-แฟ้มประเภท (category) ข้อมูลที่เก็บ รหัสประเภทรายละเอียด
พร้อมทั้งกำหนดความสัมพันธ์และคาดินัลลิตีให้ถูกต้อง

1.      ระกอบที่สำคัญของแบบจำลองอี อาร์  มีอะไรบ้าง
  1. เอนทิตี้ (entity)คือ
2. แอททริบิวต์ (attributes) ของแต่ละเอนทิตี้
3. ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ (relationship)
2 จงอธิบายความหมายและสัญลักษณ์ของคำต่อไปนี้
2.      จงอธิบายความหมายและสัญลักษณ์ของคำต่อไปนี้
ตอบ
2.1 เอนทิตี หมายถึง  ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เปรียบเสมือนคำนาม  อาจได้แก่  คน  สถานที่ 
สิ่งของ  การกระทำ  ซึ่งต้องการจัดเก็บข้อมูลไว้  เช่น เอนทิตี้ของลูกค้า เอนทิตี้ของพนักงาน เป็นต้น  บางเอนทิตี้อาจจะไม่มีความหมายเลย  หากขาดเอนทิตี้อื่นในฐานข้อมูล  เช่น  เอนทิตี้ประวัตินักสึกษาจะไม่มีความหมาย  หากปราศจากเอนทิตี้นักศึกษา  เพราะจะไม่ทราบว่าเป็นประวัติของนักศึกษาคนใด
                        2.2 รีเลชันชิพ คือ ความสัมพันธ์ซึ่งเป็นลักษณะการเกี่ยวพันกันระหว่างเอนทิรีหนึ่งกับตัวมันเองหรือ  เอนทิตีอื่น   อาจเป็นความสัมพันธ์ที่มากกว่า  2  เอนทิตีก็ได้  เช่น  แผนกจัดซื้อทำการสั่งซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบ
                        2.3 แอตทรีบิวต์ คือ กลุ่มของค่าความจริงใด ๆ ที่เป็นรายละเอียดของเอนทิตีซึ่งแสดงลักษณะ และ        คุณสมบัติของเอนทิตี  ทำให้เข้าใจเอนทิตีได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น  และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแตกย่อยลงไปได้อีกโดยไม่เสียความหมายไป  เช่น  รหัสสินค้า, สถานที่เก็บ,  ชื่อสินค้า, ราคา  นอกจากนั้นยังมีการระบุด้วยว่าแอตตริบิวใดเป็นคีย์กำหนดกฎข้อบังคับต่าง ๆ ของเอนทิตีและรีเลชันชิป
                        2.4 คอมโพสิตแอทริบิวต์  หมายถึง แอททริบิวต์ที่ประกอบด้วยแอททริบิวต์หลายตัวมารวมกัน  และให้ความหมายอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น ที่อยู่  ประกอบด้วยแอททริบิวต์ย่อยคือ บ้านเลขที่  ถนน  ตำบล  อำเภอ  จังหวัด เป็นต้น
                        2.5 แอทริบิวต์ที่ทีหลายค่า คือ แอททริบิวต์ที่มีค่าได้มากกว่า  1  ค่า  เช่น  บุคคลหนึ่งสามารถมีวุฒิการศึกษาได้มากกว่า  1  วุฒิ เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์เส้นคู่แล้วเชื่อมโยงไปยังแอททริบิวต์
                        2.6 ดีไรฟต์แอทริบิวต์ คือ  แอททริบิวต์ที่ได้ค่ามาจากการคำนวณของแอททริบิวต์อื่น  เช่น อายุได้มาจาก วันเดือนปีเกิด  แทนด้วยสัญลักษณ์เส้นประที่เชื่อมโยงไปยังแอททริบิวต์

3.      คอมโพสิตแอนทิตี้มีความสำคัญอย่างไรในการออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
ตอบ- เป็นเอนทิตี้ที่สร้างขึ้น เพื่อใช้ในการแปลงความสัมพันธ์แบบ M:Nมาเป็นแบบ  1:M สร้างขึ้นโดยการนำเอาคีย์หลักของทั้งสองเอนทิตี้ที่มีความสัมพันธ์กันแบบ M:N มารวมกันกับแอททริบิวต์อื่นๆ ที่สนใจ
            
-นอกจากเรื่องต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว ในการสร้างฐานข้อมูลต้องมีการกำหนดความสัมพันธ์อย่างชัดเจน และต้องทราบว่าอะไรเป็นความสัมพันธ์แบบบังคับ หรือแบบเลือกได้ด้วย
           
ทั้งนี้เพื่อทำให้สามารถกำหนดคุณสมบัติที่ต้องใช้ในการสร้างตารางได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการกำหนดเรเฟอเรนเชียลอินทิกริตี
4.      แอนทิตี้อ่อนแอคืออะไร มีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ เอนทิตีอ่อนแอคือ เอนทิตีที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เอง มีคุณสมบัติที่ปราศจากเอนทิตีที่มีความสัมพันธ์อยู่ และจะมีคีย์หลักจากการสืบทอดที่มันพึ่งพิงอยู่ มาใช้เป็นคีย์หลักหรือส่วนหนึ่งของคีย์หลักโดย Weak Entity จะใช้สัญลักษณ์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแต่เป็นเส้นคู่
5.      จากตารางข้อมูลที่กำหนดให้
5.1 จงเขียน E-R Diagram แสดงความสำคัญของตาราง
ตอบ ขั้นที่ ศึกษาข้อกำหนดของระบบงาน
ข้อมูลหนังสือแต่ละรายการ ข้อมูลที่จัดเก็บประกอบด้วย รหัสหนังสือ, ชื่อหนังสือ, รหัสผู้แต่ง, รหัสสำนักพิมพ์
ข้อมูลผู้แต่งหนังสือ ข้อมูลที่จัดเก็บประกอบด้วย รหัสผู้แต่ง , ชื่อผู้แต่ง
ข้อมูลสำนักพิมพ์ ข้อมูลที่จัดเก็บประกอบด้วย รหัสสำนักพิมพ์ , ชื่อสำนักพิมพ์, ที่อยู่, โทรศัพท์  
ขั้นที่ กำหนดเอนทิตี้ (Entity)

        ขั้นที่ 3 กำหนดความสัมพันธ์ของแต่ละเอนทิตี้ (Entity)
 หนังสือแต่ละเล่มจะถูกพิมพ์จากสำนักพิมพ์ใดสำนักพิมพ์หนึ่งเท่านั้นแต่ละสำนักพิมพ์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้หลายรายการ
- หนังสือแต่ละเล่มจะมีผู้แต่งได้เพียงคนเดียวเท่านั้นแต่ผู้แต่งแต่ละคนสามารถจะแต่งหนังสือได้หลายเล่ม
            5.2 จงบอกว่าแต่ละตารางมี Field ใดเป็น Primary Key
ตอบ - ในตารางผู้แต่งจะมี  Field รหัสผู้แต่ง เป็น Primary  Key
         - ในตารางสำนักพิมพ์จะมี  Field  รหัสสำนักพิมพ์ เป็น  Primary  Key
        
- ในตารางหนังสือจะมี Field รหัสหนังสือ เป็น Primary  Key
5.3 สำหรับตารางที่มี Foreign  Key  จงบอกว่าเป็น Field ใดและมีความสัมพันธ์กับ Field ใดในตารางใด
ตอบ จากฐานข้อมูลของระบบหนังสือจะประกอบไปด้วยตาราง 3 ตาราง ซึ่งแต่ละตารางจะมี Field ที่เชื่อมโยงถึงกันทั้ง 3 ตาราง
          - ตารางผู้แต่ง (รหัสผู้แต่ง, ชื่อผู้แต่ง)
          - ตารางสำนักพิมพ์ (รหัสสำนักพิมพ์, ชื่อสำนักพิมพ์, โทรศัพท์)
          - ตารางหนังสือ (รหัสหนังสือ, ชื่อหนังสื่อ, รหัสผู้แต่ง, รหัสสำนักพิมพ์

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิชาฐานข้อมูลเบื้องต้น

วิชา  ฐานข้อมูลเบื้องต้น
การบ้านบทที่
4 ประจำวันที่  24 พฤศจิกายน  2553
1.      โครงสร้างข้อมูลเชิงสัมพันธ์ประกอบด้วยอะไรบ้าง  จงอธิบาย
     ตอบ  ผู้ใช้ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นี้ จะรับรู้ในลักษณะที่ว่าข้อมูลในฐานข้อมูล  จะอยู่ในรูปตาราง  (Tables)  ต่างๆ
              Relation - ตาราง 2 มิติ ประกอบด้วย Row และ Column
              Attribute - คุณสมบัติหรือรายละเอียดของ Relation
              Domain - เป็นการกำหนดขอบเขต ค่าข้อมูล และชนิดของข้อมูล เช่น Salary - มีค่าไม่เกิน 7
             digits ,เพศ - 1 = ชาย/2 = หญิง
              Tople - คือแถวแต่ละแถวใน Relation
              Degree - คือจำนวน Attribute ที่บรรจุอยู่ใน Relation
              Cardinality - คือจำนวน Tuple หนึ่งที่บรรจุอยู่ใน Relation หนึ่งที่ไปมีความสัมพันธ์ใน Tuple
              ของอีก Relation หนึ่ง

2. คุณสมบัติในการจัดเก็บข้อมูลของรีเลชั่นมีอะไรบ้าง
     ตอบ 1. ต้องไม่มี Tuple  หรือแถวใดซ้ำกันกับแถวอื่น  (There are no duplicate tuples)  เนื่องจากรีเลชั่นเกิดจากการเอา  Domain  มาคูณกัน  นอกจากนั้นข้อมูลในคีย์หลัก  (Primary Key)  จะต้องไม่ซ้ำ  เช่น  รหัสลูกค้าชื่อสมชาย  ถึงแม้จะมี  3  คน  แต่จะได้รหัสไม่ซ้ำกันเพราะเป็นคนละคนกัน
2. แต่ละแถวไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับจากบนลงล่าง  (Tuples are unordered, top to bottom)  กล่าวคือ  ไม่มีความแตกต่างของการเรียงแถวหรือไม่เรียงแถว 

3. รีเลชั่นประกอบด้วยคีย์ประเภทต่าง ๆ อะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบประเภทคีย์ดังกล่าว
     ตอบ 1. คีย์หลัก (Primary Key) เป็น Attribute ที่มีคุณสมบัติของข้อมูลที่มีค่าเป็นเอกลักษณ์ หรือไม่มีค่าซ้ำกัน โดยคุณสมบัตินั้นจะสามารถระบุว่าข้อมูลนั้นเป็นของ Tuple ใด เช่น รหัสนักศึกษา หรือเลขที่บัตรประชาชน ซึ่งจะต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นคีย์หลักขึ้นมา
              2. คีย์ผสม (Composite Key) เป็นการนำฟิลด์ตั้งแต่ 2 ฟิลด์ขึ้นไปมารวมกัน เพื่อให้มีคุณสมบัติเป็น Primary Key เนื่องจากหากใช้ฟิลด์ใดฟิลด์หนึ่งเป็น PK จะส่งผลให้ข้อมูลในแต่ล่ะเรคอร์ดซ้ำซ้อนได้ เช่น รีเลชั่นใบส่งของ (Invoice) มีคีย์ คือ แอทริบิวต์เลขที่ใบส่งของ และแอทริบิวต์รหัสสินค้า เพราะใบส่งของแต่ละใบจะมีรายการสินค้าบรรจุในใบส่งของได้มากกว่า 1 รายการ ดังนั้นถ้าใช้แอทริบิวต์เลขที่ใบส่งของเพียงตัวเดียวจะไม่สามารถแยกความแตกต่างแต่ละ Tuple ได้
              3. คีย์คู่แข่ง (Candidates Key) ในแต่ละ Relation อาจมี Attribute ที่ทำหน้าที่เป็นคีย์หลักได้มากกว่าหนึ่ง Attribute โดยเรียก Attribute เหล่านี้ว่า คีย์คู่แข่ง (Candidates Key) เช่น นักศึกษาแต่ละคนมี รหัสประจำตัวนักศึกษา และ รหัสประจำตัวบัตรประชาชน โดยปกติแล้วจะเลือก Candidates Key ที่สั้นที่สุดเป็น Primary Key
              4. คีย์นอก (Foreign Key) คือคีย์ซึ่งประกอบด้วยแอทริบิวต์หรือกลุ่มของแอทริบิวต์ในรีเลชันหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติเป็นคีย์หลัก และไปปรากฎอีกรีเลชันหนึ่ง เพื่อประโยชน์ในการเชื่อมโยงข้อมูลซึ่งกันและกัน เช่น ฐานข้อมูลของธนาคารแห่งหนึ่งประกอบด้วย 2 ตาราง คือ 1. ตารางบัญชีที่ลูกค้าเปิด (เลขประจำตัวลูกค้า, ชื่อ - นามสกุลและประเภทของบัญชี) 2. ตารางลูกค้า (เลขประจำตัวลูกค้า, ชื่อ - นามสกุล และที่อยู่) หากต้องการทราบว่าลูกค้ารายหนึ่งเปิดบัญชีใดบ้าง ก็เชื่อมโยงข้อมูล 2 ตารางเข้าด้วยกัน โดยใช้เลขประจำตัวลูกค้าเป็น Foreign Key

4. Null หมายถึงอะไรใน Relational Database
    ตอบ Null เป็นศัพท์เฉพาะใน Relational Database หมายถึง ไม่ทราบค่าข้อมูลที่รู้แน่ชัด เราสามารถกำหนดให้ค่าคอลัมน์ใด ๆ เป็น Null ได้ (ถ้าเป็นไปได้ควรใส่ให้ครบจะดีที่สุด) ยกเว้นคอลัมน์ที่เป็น Primary Key เพราะจะไม่สามารถนำ Primary Key มาใช้เข้าถึงข้อมูลในแต่ละแถวได้

5. เหตุใดจึงต้องมีการนำ Integrity rule มาใช้ในฐานข้อมูล
ตอบโครงสร้างข้อมูลเชิงสัมพันธ์ประกอบด้วยหลาย ๆ รีเลชัน จำเป็นต้องมีการควบคุมข้อมูลให้มีความถูกต้อง เป็นจริง และสามารถนำมาใช้เชื่อมโยงกันได้
6 .ความสัมพันธ์ระหว่างรีเลชั่นมีกี่ประเภท อะไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
    ตอบความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง
(One to one)
เป็นความสัมพันธ์ที่เข้าใจง่ายที่สุด
เป็นความสัมพันธ์ของข้อมูลใน 1 เรคอร์ดในตารางหนึ่งมีความสัมพันธ์กับข้อมูลอย่างมากหนึ่งข้อมูลกับอีกเรคอร์ดในอีกตารางหนึ่งเท่านั้นในลักษณะที่เป็นหนึ่งต่อหนึ่ง เช่น นักศึกษา 1 คนเท่านั้นที่จะเป็นนายกองค์การนักศึกษา
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่มต่อกลุ่ม
(One to Many Relationship)
เป็นความสัมพันธ์ที่พบบ่อยที่สุดในฐานข้อมูล
เป็นความสัมพันธ์ของข้อมูลใน 1 เรคอร์ดในตารางหนึ่งมีความสัมพันธ์กับข้อมูลมากกว่าหนึ่งข้อมูลกับอีกเรคอร์ดในอีกตารางหนึ่งเท่านั้นในลักษณะที่เป็นหนึ่งต่อหนึ่ง เช่น นักศึกษาแต่ละคนสามารถลงทะเบียนเรียนได้มากกว่า 1 วิชา
ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม
(Many to Many Relationship)
เป็นความสัมพันธ์ที่พบไม่บ่อยนัก
เป็นความสัมพันธ์ ของข้อมูลในเรคอร์ดใดๆ ของตารางหนึ่งมีค่าตรงกับข้อมูลของหลายๆ เรคอร์ดในตารางอื่นๆ เช่น รายวิชา 1 รายวิชามีอาจารย์สอนได้มากกว่า 1 คน การสั่งซื้อสินค้าในแต่ละครั้งสามารถสั่งซื้อสินค้าได้มากกว่า 1 ชนิด

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิชาฐานข้อมูลเบื้องต้น

การบ้านบทที่ 3 ประจำ วันที่ 17 พ.ย. 53
1. การแบ่งสถาปัตยกรรมของฐานข้อมูลออกเป็น 3 ระดับมีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ใดเป็นสำคัญ
ตอบ      1. ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องสนใจในรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูล ไม่ว่าจะจัดเก็บแบบเรียงลำดับ, แบบดัชนี จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ DBMS เป็นตัวจัดการ
            2. ผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถเข้าถึงข้อมูลชุดเดียวกัน และแสดงข้อมูลเพียงบางส่วนเท่าที่จำเป็น โดยไม่ต้องแสดงข้อมูลให้ดูทั้งหมด
            3. ความอิสระของข้อมูล คือ ไม่ต้องทำการแก้ไขโปรแกรมทุกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของข้อมูล

2.ความเป็นอิสระของข้อมูลมีบทบาทสำคัญอย่างไรต่อการจัดการฐานข้อมูล จงอธิบาย
ตอบ    ความเป็นอิสระของข้อมูล (Data Independence)ถือเป็นคุณลักษณะเด่นของฐานข้อมูลซึ่งไม่มีในระบบไฟล์ธรรมดา เนื่องจากในไฟล์ธรรมดาจะเป็นข้อมูลที่ไม่อิสระ (data dependence) กล่าวคือ ข้อมูลเหล่านี้จะผูกพันอยู่กับวิธีการจัดเก็บและการเรียกใช้ข้อมูลซึ่งในลักษณะการเขียนโปรแกรมเราจำเป็นต้องใส่เทคนิคการจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลไว้ในโปรแกรม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดเก็บทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรมตามไปด้วย ดังนั้น ถ้าหากมีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูลทั้งในระดับ logical และ physical ย่อมมีผลกระทบต่อโปรแกรม แต่ถ้าข้อมูลเก็บในลักษณะของฐานข้อมูลแล้วปัญหานี้จะหมดไป เพราะฐานข้อมูลมี DBMS คอยดูแลจัดการให้ ทำให้โปรแกรมเหล่านี้เป็นอิสระจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูล


3. ปัญหาที่สำคัญของ Hierarchical Model คืออะไร และเหตุใด Hierarchical Model จึงไม่สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ทังหมด
ตอบ  ปัญหาคือ child element จะมี parent element ที่อยู่เหนือมันได้เพียง element เดียวเท่านั้น
                   Record ลูก ไม่สามารถมี record พ่อหลายคนได้ เช่น นักศึกษาสามารถลงทะเบียนได้มากกว่า 1 วิชา
                   มีความยืดหยุ่นน้อย เพราะการปรับโครงสร้างของ Tree ค่อนข้างยุ่งยาก
                   มีโอกาสเกิดความซ้ำซ้อนมากที่สุดเมื่อเทียบกับระบบฐานข้อมูลแบบโครงสร้างอื่น
                   หากข้อมูลมีจำนวนมาก การเข้าถึงข้อมูลจะใช้เวลานานในการค้นหา เนื่องจากจะต้องเข้าถึงที่ต้นกำเนิดของข้อมูล

4. เหตุใด Network  Model ซึ่งสามารถแก้ปัญหาความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้จึงไม่เหมาะกับการนำมาใช้งาน
   ตอบ   ลักษณะฐานข้อมูลนี้จะคล้ายกับลักษณะฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น จะมีข้อแตกต่างกันตรงที่ในลักษณะฐานข้อมูลแบบเครือข่ายนี้สามารถมีต้นกำเนิดของข้อมูลได้มากกว่า 1  และยินยอมให้ระดับชั้นที่อยู่เหนือกว่าจะมีได้หลายแฟ้มข้อมูลถึงแม้ว่าระดับชั้นถัดลงมาจะมีเพียงแฟ้มข้อมูลเดียว ลักษณะโครงสร้างระบบฐานข้อมูลแบบเครือข่ายจะมีโครงสร้างของข้อมูลแต่ละแฟ้มข้อมูลมีความสัมพันธ์คล้ายร่างแห
1. โครงสร้างแบบเครือข่ายเป็นโครงสร้างที่ง่ายไม่ซับซ้อนเนื่องจากไม่ต้องอ่านแฟ้มข้อมูลที่เป็นต้นกำเนิดก่อน จึงทำให้ป้องกันความลับของข้อมูลได้ยาก
2. มีค่าใช้จ่ายและสิ้นเปลืองพื้นที่ในหน่วยความจำเพราะจะเสียพื้นที่ในอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำหรับตัวบ่งชี้มาก
                                                    
5. สิ่งที่ทำให้ Relational  Model ได้รับความนิยมอย่างมากคืออะไรจงอธิบาย
ตอบ   ระหว่างไฟล์ต่าง ๆ มีข้อมูลที่มีความซ้ำซ้อนกันน้อยมาก  ทำให้ประหยัดเนื้อที่ของหน่วยเก็บข้อมูล รวมทั้งสามารถเพิ่มหรือลดข้อมูลได้ง่าย   

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิชาฐานข้อมูลเบื้องต้น

การบ้านบทที่ 1 ประจำ วันที่ 10 พย 53
1.จงสรุปแนวคิดในการจัดการข้อมูลจากอดีตถึงปัจจุบัน
ตอบ ในยุคปัจจุบัน คำว่า ฐานข้อมูล ข้ามามีบทบาทสำคัญต่อวงการทั่วไปเป็นอย่างมากดังจะมีเห็นได้แทบทุกที่ที่มีคอมพิวเตอร์ใช้งานเพื่อการประมวลผล ไม่ว่าจะเป็นการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับงานด้านธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันการให้บริการข้อมูลในชีวิตประจำวันของมนุษย์ มากขึ้น เทคโนโลยีฐานข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญในการติดต่อธุรกิจ
2. โครสร้างของแฟ้มข้อมูลประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
  ตอบ    โครสร้างของแฟ้มข้อมูลประกอบด้วย
บิท (Bit : Binary Digit) คือ หน่วยของข้อมูลที่เล็กที่สุดที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำภายในคอมพิวเตอร์ ซึ่ง Bit จะแทนด้วยตัวเลขหนึ่งตัว คือ 0 หรือ 1 อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกตัวเลข 0 หรือ 1 ว่าเป็น บิท 1 บิท
ไบท์ (Byte) คือ หน่วยของข้อมูลที่นำบิทหลายๆบิทมารวมกัน แทนตัวอักษรแต่ละตัว เช่น A, B, …, Z, 0, 1, 2, … ,9 และสัญลักษณ์พิเศษอื่นๆ เช่น $, &, +, -, *, / ฯลฯ โดยตัวอักษร 1 ตัวจะแทนด้วยบิท 7 บิท หรือ 8 บิท ซึ่งตัวอักษรแต่ละตัวจะเรียกว่า ไบท์ เช่น ตัว A เมื่อเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์จะเก็บเป็น 1000001 ส่วนตัว B จะเก็บเป็น 1000010 เป็นต้น
เขตข้อมูล (Field) คือ หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำตัวอักขระหลายๆตัวมารวมกัน เป็นคำที่มีความหมาย เช่น รหัสนักศึกษา ชื่อนักศึกษา นามสกุล ที่อยู่ คณะ และสาขาวิชา เป็นต้น
ระเบียน (Record) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำเขตข้อมูลหลายๆ เขตข้อมูล ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน หรือค่าของข้อมูลในแต่ละเขตข้อมูล เช่น ระเบียนนักศึกษาคนที่ 1 ประกอบด้วยเขตข้อมูล รหัสนักศึกษา 4800111 , ชื่อ : สาธิต, นามสกุล : กิตติพงศ์, โปรแกรมวิชา : บรรณารักษศาสตร์, คณะ : มนุษยศาสตร์ เป็นต้น
แฟ้มข้อมูล (File) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำระเบียนหลายๆ ระเบียนที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักศึกษา (ภาพที่ 1.1) ซึ่งประกอบไปด้วย ระเบียนจำนวน 5 ระเบียน หรือ 5 แถว ซึ่งก็คือ รายละเอียดของนักศึกษาจำนวน 5 คน นั่นเอง
ฐานข้อมูล (Database) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำแฟ้มข้อมูลหลายๆ แฟ้มข้อมูล ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน เช่น ฐานข้อมูลในระบบทะเบียนนักศึกษา จะประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลรายวิชา นักศึกษา การลงทะเบียน ผลการเรียน และอาจารย์ผู้สอน
 3.การเก็บข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูลมีข้อจำกัดอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ รายงานต่าง ๆ ถูกกำหนดไว้อย่างจำกัด
                   ระบบแฟ้มข้อมูลของแต่ละหน่วยงานถูกเขียนขึ้นด้วยหลาย ๆ โปรแกรม และการใช้งานในแต่ละหน่วยงานก็แตกต่างกัน ดังนั้นในส่วนของการจ้างโปรแกรมเมอร์มาทำการพัฒนาโปรแกรมนั้นก็จะมีส่วนที่กำหนดในเรื่องของรายงานที่หน่วยงานต้องการใช้ แต่หากว่าต้องการรายงานอื่น ๆ เพิ่มในอนาคตก็ต้องทำการว่าจ้างโปรแกรมเมอร์มาพัฒนาทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มดังนั้นจะเห็นว่าเกิดปัญหาในเรื่องของความต้องการของผู้ใช้งาน
4. ฐานข้อมูลคืออะไร และยกตัวอย่างฐานข้อมูลที่นักศึกษารู้จักมาสองระบบ

   ตอบ  ฐานข้อมูล คือ แหล่งที่ใช้สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปแฟ้มข้อมูลมารวมไว้ที่เดียวกัน รวมทั้งต้องมีส่วนของพจนานุกรมข้อมูล (data dictionary) เก็บคำอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างของฐานข้อมูล และเนื่องจากข้อมูลที่จัดเก็บนั้นต้องมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทำให้สามารถสืบค้น (retrieval) แก้ไข (modified) ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ข้อมูล (update) และจัดเรียง (sort) ได้สะดวกขึ้นโดยในการกระทำการดังที่กล่าวมาแล้ว ต้องอาศัยซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับจัดการฐานข้อมูล เช่น ระบบฝากเงินของธนาคาร ,ระบบยืมหนังสือของห้องสมุด

5. ฐานข้อมูลช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเก็บข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
1.              ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล เนื่องจากการนำข้อมูลที่จำเป็นต่อการใช้งานมาจัดเก็บไว้รวมกันเป็นฐานข้อมูลส่วนกลาง ทำให้แต่ละหน่วยงานที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูล ไม่ต้องจัดเก็บข้อมูลไว้ที่หน่วยงานของตนเองอีก นอกจากลดความสิ้นเปลืองในการจัดเก็บแล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดตามมา เนื่องจากความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้
2.              แก้ปัญหาความขัดแย้งกันของข้อมูล ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดเนื่องจากความซ้ำซ้อนของข้อมูล เมื่อมีข้อมูลที่ซ้ำ ๆ กันอยู่หลายที่ หากมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลในที่หนึ่งแล้ว แต่ไม่ได้แก้ไขข้อมูลในที่อื่นๆ ตามด้วย ก็จะทำให้ข้อมูลในแต่ละที่เกิดความขัดแย้งกันขึ้น ดังนั้นการจัดเก็บข้อมูลไว้เพียงที่เดียวจึง ช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งกันของข้อมูลได้
3.              การบริหารจัดการฐานข้อมูลทำได้ง่าย เนื่องจากมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ที่ว่วนกลาง ทำให้การจัดการข้อมูลทำได้ง่ายขึ้น โดยผู้ที่ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการฐานข้อมูลเรียกว่า ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrators :DBA)”
4.              กำหนดมาตรฐานของข้อมูลได้ เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลไว้ที่ส่วนกลางที่เดียวดังนั้น DBA จะเป็นผู้กำหนดโครงสร้างในการจัดเก็บข้อมูล ทำให้โครงสร้างของข้อมูลต่างๆอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน เช่น ชนิดของข้อมูลการจัดเก็บวันที่ หากไม่มีมาตรฐานส่วนกลาง อาจกำหนดชนิดของข้อมูลในการจัดเก็บที่แตกต่างกัน หรือมีรูปแบบของข้อมูลที่แตกต่างกัน เช่น กำหนดรูปแบบเป็น วัน/เดือน/ปี หรือ เดือน/วัน/ปี ซึ่ง DBA จะเป็นผู้กำหนดให้ตรงกันทั้งหมด
5.              สามารถใช้งานฐานข้อมูลร่วมกันได้ เนื่องจากโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์จะถูกกำหนดด้วย DBMS และผู้ใช้แต่ละคนจะต้องใช้งานผ่าน DBMS เท่านั้น ดังนั้นจึงสามารถใช้งานฐานข้อมูลร่วมกันได้ โดยไม่ต้องกังวลถึงความแตกต่างของภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ นอกจากนี้ข้อมูลอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ไม่ได้เป็นผู้สร้างขึ้นมา ก็สามารถใช้งานได้ ถ้าหากได้รับสิทธิในการใช้งานข้อมูลดังกล่าว
6.              เกิดความเป็นอิสระระหว่างข้อมูลกับโปรแกรม จากปัญหาของระบบแฟ้มข้อมูล ซึ่งการแก้ไขโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล เช่น การเพิ่มฟิลด์ ซึ่งโปรแกรมที่มีอยู่เดิมไม่จำเป็นต้องนำไปใช้งาน แต่ต้องทำการแก้ไขโปรแกรมเนื่องจากการเขียนโปรแกรมจะยึดติดกับโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล หากใช้งานเป็นระบบฐานข้อมูล จะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ เนื่องจากการใช้งานต่าง ๆ จะต้องใช้งานผ่าน DBMS เท่านั้น ดังนั้นโปรแกรมเดิมที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับฟิลด์ที่เพิ่มเข้ามาใหม่ ก็ไม่จำเป็นต้องแก้ไขโปรแกรม เพราะข้อมูลเดิมที่ต้องการDBMS ก็เป็นตัวจัดการให้อยู่แล้ว
7.      กำหนดระบบรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลได้  เนื่องจากข้อมูลแต่ละข้อมูลจะมีความสำคัญไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดสิทธิในการใช้งาน ข้อมูลแต่ละส่วน ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหารฐานข้อมูล เป็นผู้กำหนดว่าใครมีสิทธิใช้งานข้อมูลส่วนไหนได้บ้าง

6.ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) คืออะไร มีส่วนสำคัญต่อฐานข้อมูลอย่างไร

ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System) หรือที่เรียกว่า ดีบีเอ็มเอส (DBMS) เป็นกลุ่มโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในระบบติดต่อระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูล เพื่อจัดการและควบคุมความถูกต้อง ความซ้ำซ้อน และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ ภายในฐานข้อมูล ซึ่งต่างจากระบบแฟ้มข้อมูลที่หน้าที่เหล่านี้จะเป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ ในการติดต่อกับข้อมูลในฐานข้อมูลไม่ว่าจะด้วยการใช้คำสั่งในกลุ่มดีเอ็มแอล (DML) หรือ ดีดีแอล (DDL) หรือจะด้วยโปรแกรมต่างๆ ทุกคำสั่งที่ใช้กระทำกับข้อมูลจะถูกดีบีเอ็มเอสนำมาแปล (คอมไพล์) เป็นการปฏิบัติการ (Operation) ต่างๆ ภายใต้คำสั่งนั้นๆ เพื่อนำไปกระทำกับตัวข้อมูลภายในฐานข้อมูลต่อไป สำหรับส่วนการทำงานตางๆ ภายในดีบีเอ็มเอสที่ทำหน้าที่แปลคำสั่งไปเป็นการปฏิบัติการต่างๆ กับข้อมูลนั้น ประกอบด้วยส่วนการปฏิบัติการดังนี้
7.ยกตัวอย่างฐานข้อมูลกับการดำเนินชีวิตประจำวัน
ตอบ ระบบการยืมคืนหนังสือของห้องสุด